คอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง ซึ่งไม่สามารถทำงานด้วยตนเองได้ แต่จะสามารถทำงานได้ตามชุดคำสั่งในโปรแกรมที่ป้อนเข้าสู่เครื่อง
เมนูหลัก แนะนำวิธีใช้งาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน
หน่วยที่ 1 การเขียนโปรแกรม
แบบทดสอบก่อนเรียน แผนผังมโนทัศน์ เรื่อง วิเคราะห์ก่อนการเขียนโปรแกรม เรื่อง โครงสร้างของโปรแกรม เรื่อง การเขียนโปรแกรม แบบทดสอบหลังเรียน
หน่วยที่ 2 การทำโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบทดสอบก่อนเรียน แผนผังมโนทัศน์ เรื่อง ความสำคัญของโครงงาน เรื่อง ประเภทและความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง คุณลักษณะของโครงงานที่ดี เรื่อง การศึกษาผลกระทบของโครงงาน เรื่อง ขั้นตอนการพัฒนาโครงงาน เรื่อง การเขียนรายงาน เรื่อง การนำเสนอโครงงาน เรื่อง การนำเสนอผลงาน แบบทดสอบหลังเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียน มุมความรู้ ประวัติผู้จัดทำ

วีดีโอภายนอกที่น่าสนใจ
ปัญญาประดิษฐ์ My friend is AI (ปัญญาประดิษฐ์คืออะไร)

ปัญญาประดิษฐ์ หรือ คอมพิวเตอร์ที่มีความคิดเป็นของตัวเองเหมือนมนุษย์ ปัจจุบันนี้เรากำลังใช้ AI โดยไม่รู้ตัว

การทำงานของนักพัฒนาซอฟต์แวร์

ซอฟต์แวร์จะไม่สามารถทำงานได้ หากไม่มีการเขียนคำสั่งเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซึ่งผู้ที่เขียนคำสั่งการทำงานให้กับคอมพิวเตอร์ คือ นักพัฒนาซอฟต์แวร์

โครงสร้างของโปรแกรม
การเขียนโปรแกรมจะมีรูปแบบโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมมี 3 รูปแบบ ดังนี้

1. โครงสร้างแบบลำดับ ( Sequence structure ) เป็นโครงสร้างที่แสดงถึงขั้นตอนการทำงานที่เป็นลำดับขั้นตอน ก่อน-หลัง ทำงานจากบนลงล่าง หรือจากจุดเริ่มต้นถึงจุดสิ้นสุด

2. โครงสร้างแบบทางเลือก ( Selection Structure ) คือ โครงสร้างที่มีเงื่อนไขเพื่อตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่ง โดยต้องมีการตรวจสอบเงื่อนไขว่าเป็นจริงหรือเท็จ ถ้าตรวจสอบแล้วเป็นจริงให้ทำในคำสั่งสั่งชุดหนึ่ง และถ้าตรวจสอบแล้วเป็นเท็จให้ทำในคำสั่งอีกชุดหนึ่ง โดยโครงสร้างแบบมีทางเลือกสามารถแบ่งได้ 4 ประเภท ดังนี้

   2.1. เลือกทำเฉพาะเงื่อนไขที่เป็นจริง เป็นการตรวจสอบเงื่อนไขที่เป็นจริงเท่านั้น ดังผังงานต่อไปนี้

   2.2. เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างเงื่อนไขจริงและเท็จ เป็นการตรวจสอบเงื่อนไขโดยถ้าเงื่อนไขเป็นจริงให้ทำในคำสั่งหนึ่ง แต่ถ้าเป็นเท็จให้ทำอีกคำสั่งหนึ่ง ดังผังงานดังต่อไปนี้

   2.3. เลือกทำแบบซ้ำซ้อน เป็นการตรวจสอบเงื่อนไขที่มีลักษณะคล้ายๆกับเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างจริงและเท็จแต่มีข้อแตกต่างคือเมื่อเงื่อนไขเป็นจริงหรือเท็จจะมีเงื่อนไขเพื่อทำการตรวจสอบอีกรอบ เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ดังผังงานต่อไปนี้

   2.4. คำสั่งแบบหลายทางเลือก เมื่อมีทางเลือกมากกว่า 2 ทางเลือก เป็นการตรวจสอบเงื่อนไข และทำตามคำสั่งเมี่อเงื่อนไขตรงกับคำสั่งที่กำหนดไว้ ดังผังงานต่อไปนี้

3. โครงสร้างแบบทำงานซ้ำ (Iteration Structure) เป็นโครงสร้างการทำงานแบบวนซ้ำ โดยทำงานตามเงื่อนไขที่กำหนด เช่น การแสดงข้อมูลของนักเรียนจากฐานข้อมูลโดยกำหนดจำนวนการแสดง ดังตัวอย่าง

    เมื่อกำหนดจำนวนที่แสดงหรือกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปรแล้ว เงื่อนไขจะทำการตรวจสอบว่าตัวแปรมีค่าเท่าไหร่ แล้วทำการค้นหาข้อมูลนักเรียนตามจำนวนที่กำหนดไว้ไปเรื่อยๆจนกว่าเงื่อนไขจะเป็นเท็จ จึงออกจาก การวนซ้ำ ( Loop ) เช่น ถ้ากำหนดค่าเริ่มต้นเป็น 10 ก็แสดงว่าต้องการแสดงข้อมูลของนักเรียน 10 คน และเมื่อครบ 10 คนจะทำตามเงื่อนไขถัดไปหรือออกจากการวนซ้ำ