คอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง ซึ่งไม่สามารถทำงานด้วยตนเองได้ แต่จะสามารถทำงานได้ตามชุดคำสั่งในโปรแกรมที่ป้อนเข้าสู่เครื่อง
เมนูหลัก แนะนำวิธีใช้งาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน
หน่วยที่ 1 การเขียนโปรแกรม
แบบทดสอบก่อนเรียน แผนผังมโนทัศน์ เรื่อง วิเคราะห์ก่อนการเขียนโปรแกรม เรื่อง โครงสร้างของโปรแกรม เรื่อง การเขียนโปรแกรม แบบทดสอบหลังเรียน
หน่วยที่ 2 การทำโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบทดสอบก่อนเรียน แผนผังมโนทัศน์ เรื่อง ความสำคัญของโครงงาน เรื่อง ประเภทและความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง คุณลักษณะของโครงงานที่ดี เรื่อง การศึกษาผลกระทบของโครงงาน เรื่อง ขั้นตอนการพัฒนาโครงงาน เรื่อง การเขียนรายงาน เรื่อง การนำเสนอโครงงาน เรื่อง การนำเสนอผลงาน แบบทดสอบหลังเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียน มุมความรู้ ประวัติผู้จัดทำ

วีดีโอภายนอกที่น่าสนใจ
ปัญญาประดิษฐ์ My friend is AI (ปัญญาประดิษฐ์คืออะไร)

ปัญญาประดิษฐ์ หรือ คอมพิวเตอร์ที่มีความคิดเป็นของตัวเองเหมือนมนุษย์ ปัจจุบันนี้เรากำลังใช้ AI โดยไม่รู้ตัว

การทำงานของนักพัฒนาซอฟต์แวร์

ซอฟต์แวร์จะไม่สามารถทำงานได้ หากไม่มีการเขียนคำสั่งเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซึ่งผู้ที่เขียนคำสั่งการทำงานให้กับคอมพิวเตอร์ คือ นักพัฒนาซอฟต์แวร์

คุณลักษณะของโครงงานที่ดี

1. สามารถตอบสนองความต้องการหรือแก้ปัญหาของโครงงานได้อย่างครบถ้วน
2. เป็นไปตามขอบเขตที่กำหนดไว้
3. สามารถดำเนินการเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้และเสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนด
4. ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ ในการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ที่ดีจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับ และต้องมีคุณลักษณะที่ดีตามที่กล่าวข้างต้น แต่ทั้งนี้ก็ต้องคำนึงถึงผลกระทบในทางลบที่อาจเกิดขึ้นจากการทำโครงงานซึ่งผู้จัดทำอาจต้องหลีกเลี่ยง โดยจะต้องคำนึงถึงผลกระทบทางลบในด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านสิ่งแวดล้อม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
การประเมินผลโครงงาน
     การประเมินผลโครงงานเป็นการวัดคุณภาพของผลงานว่ามีคุณภาพเพียงใด โดยอาศัยเกณฑ์ดังตารางด้านล่าง ทั้งนี้ นักเรียนควรทราบเกณฑ์สำหรับการประเมินผล เพื่อสร้างผลงานที่มีคุณภาพการเรียนรู้การจัดทำโครงงานนั้น จะทำให้ผู้เรียนได้นำความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หลักการและกระบวนการที่ใช้ในการแก้ปัญหา หลักการเขียนโปรแกรมการวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรม มาเป็นพื้นฐานในการสร้างความรู้ใหม่ โดยมีครูที่ปรึกษาให้คำแนะนำอย่างต่อเนื่อง และทำให้ผู้เรียนเขียนรายงานสรุปได้อย่างมีขั้นตอน
1. คัดเลือกหัวข้อ
     • ความชัดเจนในหัวข้อโครงงาน
     • ความเข้าใจหัวข้อโครงงาน
2. ศึกษาค้นคว้าข้อมูล
     • ความถูกต้องของแนวคิด/ทฤษฎี
     • ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล
3. ข้อเสนอโครงงาน
     • ความถูกต้องและสมบูรณ์ของข้อเสนอโครงงาน
     • การเชื่อมโยงขององค์ประกอบต่างๆ ของหัวข้อโครงงาน
4. พัฒนาโครงงาน
     • ความถูกต้องของการออกแบบ
     • ความสำเร็จของโครงงานตามกำหนดการ
     • ความถูกต้องของระบบงาน
     • การเข้าพบครูที่ปรึกษาอย่างสม่ำเสมอ
5. รายงานโครงงาน
     • ความถูกต้องและสมบูรณ์ของรายงานโครงงาน
     • การเชื่อมโยงขององค์ประกอบต่างๆ ของรายงานโครงงาน

ที่มาของภาพ :https://mgronline.com/south/detail/9600000125882



ประเภทและความสำคัญของโครงงาน คุณลักษณะของโครงงานที่ดี การศึกษาผลกระทบของโครงงาน ขั้นตอนการพัฒนาโครงงาน

การเขียนรายงานบทที่ 1 การอ้างอิงและการนำเสนอโครงงาน การจัดทำภาคผนวก การนำเสนอผลงาน