คอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง ซึ่งไม่สามารถทำงานด้วยตนเองได้ แต่จะสามารถทำงานได้ตามชุดคำสั่งในโปรแกรมที่ป้อนเข้าสู่เครื่อง
เมนูหลัก แนะนำวิธีใช้งาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน
หน่วยที่ 1 การเขียนโปรแกรม
แบบทดสอบก่อนเรียน แผนผังมโนทัศน์ เรื่อง วิเคราะห์ก่อนการเขียนโปรแกรม เรื่อง โครงสร้างของโปรแกรม เรื่อง การเขียนโปรแกรม แบบทดสอบหลังเรียน
หน่วยที่ 2 การทำโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบทดสอบก่อนเรียน แผนผังมโนทัศน์ เรื่อง ความสำคัญของโครงงาน เรื่อง ประเภทและความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง คุณลักษณะของโครงงานที่ดี เรื่อง การศึกษาผลกระทบของโครงงาน เรื่อง ขั้นตอนการพัฒนาโครงงาน เรื่อง การเขียนรายงาน เรื่อง การนำเสนอโครงงาน เรื่อง การนำเสนอผลงาน แบบทดสอบหลังเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียน มุมความรู้ ประวัติผู้จัดทำ

วีดีโอภายนอกที่น่าสนใจ
ปัญญาประดิษฐ์ My friend is AI (ปัญญาประดิษฐ์คืออะไร)

ปัญญาประดิษฐ์ หรือ คอมพิวเตอร์ที่มีความคิดเป็นของตัวเองเหมือนมนุษย์ ปัจจุบันนี้เรากำลังใช้ AI โดยไม่รู้ตัว

การทำงานของนักพัฒนาซอฟต์แวร์

ซอฟต์แวร์จะไม่สามารถทำงานได้ หากไม่มีการเขียนคำสั่งเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซึ่งผู้ที่เขียนคำสั่งการทำงานให้กับคอมพิวเตอร์ คือ นักพัฒนาซอฟต์แวร์

การอ้างอิงและการนำเสนอโครงงาน

     เอกสารอ้างอิง หมายถึง เอกสารหรือหลักฐานต่าง ๆ ที่ใช้อ้างอิงเนื้อหาในการเขียนตำรา รายงานผลการวิจัย เอกสารวิชาการ หากไม่ปรากฏในเนื้อหาจะนํามาอ้างอิงไม่ได้ หลักเกณฑ์การเขียนเอกสารอ้างอิง หลักเกณฑ์การเขียนเอกสารอ้างอิงมีหลากหลาย แม้แต่คําที่ใช้อ้างอิงยังแตกต่างกัน ดังนั้น การใช้รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงจึงควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสาขาวิชา หรือตามรูปแบบที่ กําหนดขึ้นโดยสถาบันต่าง ๆในที่นี้ ขอแนะนําให้ใช้รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงของกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งมีด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ

(1) การอ้างอิงในเนื้อความ

1. การอ้างอิงที่กําหนดให้ใช้เป็นรูปแบบ ชื่อ-ปี (Name-year)
   1.1 การอ้างอิงหลังข้อความหรือข้อมูล ให้ใส่ชื่อผู้แต่งตามที่ปรากฏในรายชื่อ เอกสารอ้างอิงไว้ในวงเล็บหลังข้อความที่ต่องการอ้างอิง ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค ( , ) ปีที่พิมพ์ เครื่องหมายมหัพภาค ( : ) และตามด้วยเลขหน้าของหนังสือที่อ้างอิง

ตัวอย่าง
   การวิจัยเป็นกระบวนการค้นคว้า แสวงหาข้อเท็จจริง ความรู้ความสามารถที่นักวิจัย ต้องมีไว้สําหรับช่วยค้นคว้าแสวงหาข้อเท็จจริง ในที่นี้ขอเรียกว่าเครื่องมือการทําวิจัย ซึ่งจําแนก ได้ 5 ประเภท หมายความว่า ข้อความนี้นำมาจากเอกสารที่แต่งหรือเขียนโดย บุญธรรม เมื่อ พ.ศ.2536

ข้อความปรากฏอยู่ที่หน้า 12
   1.2 การอ้างอิงหน้าข้อความหรือข้อมูล ให้ใส่ชื่อผู้แต่งตามที่ปรากฏในรายชื่อเอกสารอ้างอิง ตามด้วยปีที่พิมพ์ เครื่องหมายมหัพภาค ( : ) และเลขหน้าของหนังสือที่อ้างอิงไว้ ภายในวงเล็บ ตามด้วยข้อความที่อ้างถึง

การอ้างอิงในเนื้อเรื่องกรณีที่ผู้แต่งไม่เกิน 3 คน ให้ใส่ชื่อผู้แต่งทุกคน
ตัวอย่าง
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ (2536 : 2) ได้ให้ ความหมายของการวิจัยว่าเป็นกระบวนการ ค้นหาข้อเท็จจริงหรือค้นคว้า...หมายความว่า ข้อความคัดลอกมาจากเอกสารที่แต่งโดย บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์เมื่อ พ.ศ. 2536 ข้อความปรากฏอยู่ในหน้าที่ 2
2. การอ้างอิงในเนื้อเรื่องกรณีที่ผู้แต่งไม่เกิน 3 คน ให้ใส่ชื่อผู้แต่งทุกคน
ตัวอย่าง...
(กมลและสกัญญา, 2540 : 48) หรือ กมล ชีวกิจ และ ทิพวรรณ ทองทา (2540 : 48) กล่าวว่า...50 หากมีชื่อผู้แต่งเกิน 3 คน ให้ใส่ชื่อผู้แต่งคนแรกและตามด้วยคําว่า “และคณะ”
ตัวอย่าง
...(สุกัญญา และคณะ, 2533 : 12-16) สุกัญญา ผลสิทธิ์ และคณะ (2533 : 12) ได้อธิบายว่า...

3. หนังสืออ้างอิง ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ ให้ใช้ คำว่า “ม.ป.ป.”
ตัวอย่าง
... (มหาวิทยาลัยขอนแก่น , ม.ป.ป. : 16)
มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ม.ป.ป. : 16) ได้ระบุว่า...

4. หนังสืออ้างอิงที่ผู้แต่งเป็นชาวต่างประเทศ ให้ใช้เฉพาะชื่อสกุล
ตัวอย่าง
Nadler Leonard ให้ใช้เฉพาะชื่อสกุล...(Leonard, 1990 : 28)
Leonard (1990 : 28) ได้อธิบายความหมายว่า ทั้งนี้ หากผู้แต่งมีจํานวนมากกว่า 1 คน ไม่เกิน 3 คน จะใช้หลักการเขียนอ้างอิง เช่นเดียวกับผู้แต่งภาษาไทย และกรณีที่มีผู้แต่งมากกว่า 3 คน ใหใช้คําว่า “et al.”
ตัวอย่าง
...(Layne et al ; 1982: 3) Layne et al (1982: 3) ได้ให้ความหมายว่า...

5. การอ้างอิงภาพหรือตาราง ใหใช้ หลักเกณฑ์การอ้างอิงเหมือนการอ้างอิง ข้อความ โดยให้ใส่คําว่า “ที่มา” ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (:) ชื่อผู้แต่ง เครื่องหมายจุลภาค (,) ปีที่พิมพ์ เครื่องหมายมหัพภาค (:) เลขหน้า
ตัวอย่าง ที่มา : อุทุมพร, 2543 : 8
ที่มา : สมคิดและสมชาติ, 2522 : 12-13

(2) การเขียนหรือการพิมพ์รายชื่อเอกสารอ้างอิง

   การเขียนหรือการพิมพ์รายชื่อเอกสารอ้างอิงไว้ในตอนท้ายเล่มต่อจากเนื้อหาของ ตํารา เอกสารทางวิชาการ หรือ รายงานผลการวิจัย เอกสารอ้างอิงมีข้อแตกต่างจากบรรณานุกรม คือ เอกสารหรือหลักฐานต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ ในเอกสารอ้างอิง ผู้เขียนจะตองใช้อ้างอิงอยู้ในส่วนใดส่วนหนึ่งของการเขียนตํารา เอกสารวิชาการ หรือ รายงานผลการวิจัย แต่สําหรับเอกสารหรือหลักฐานที่ปรากฏอยู่ในบรรณานุกรมนั้น ผู้เขียน อาจจะใช้อ้างอิงอยู่ในส่วนใดส่วนหนึ่งของงานเขียนหรือไม่ได้ใช้อ้างอิงก็ได้ เพียงแต่นำเอกสาร หรือหลักฐานต่าง ๆ เหล่นั้นมาใช้ค้นคว้าประกอบการเขียนตํารา หรือ รายงานผลการวิจัย การเขียนรายชื่อเอกสารอ้างอิงในส่วนอ้างอิงท้ายเล่ม จะระบุรายละเอียดดังนี้
2.1 ชื่อผู้แต่ง
2.2 ปีที่พิมพ์
2.3 ชื่อหนังสือ
2.4 จังหวัดหรือเมืองที่พิมพ์
2.5 สํานักพิมพ์

   สําหรับการลงรายการเอกสารอ้างอิงของกรมส่งเสริมการเกษตรจะใช้หลักเกณฑ์ เดียวกับการเขียนบรรณานุกรมซึ่งผ้เขียนสามารถศึกษาได้ในเรื่องการเขียนบรรณานุกรม



ประเภทและความสำคัญของโครงงาน คุณลักษณะของโครงงานที่ดี การศึกษาผลกระทบของโครงงาน ขั้นตอนการพัฒนาโครงงาน

การเขียนรายงานบทที่ 1 การอ้างอิงและการนำเสนอโครงงาน การจัดทำภาคผนวก การนำเสนอผลงาน